เมนู

ทำอัพยาบาทวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอนั้นก็จะน้อมไปเพื่ออัพยาบาท
วิตก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยังตรึก ยิ่งตรองถึงอวิหิงสาวิตกมาก เธอก็
จะละวิหิงสาวิตกเสียได้ ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอนั้นก็
น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน
คนเลี้ยงโคจะต้องรักษาโคทั้งหลาย ในที่ใกล้บ้านในทุกด้าน เมื่อเข้าไปคู่โคน
ต้นไม้หรือไปสู่ที่แจ้งจะต้องทำสติอยู่เสมอว่า นั้นฝูงโค [ของเรา] ดังนี้ ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้น ต้องทำสติอยู่เสมอว่าเหล่านี้เป็นธรรม [คือ
กุศลวิตก] ดังนี้.

ว่าด้วยวิชชา 3


[253] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ปรารภความเพียร มีความเพียร
ไม่ย่อหย่อนแล้ว มีสติมั่นคงไม่เลอะเลือนแล้ว มีกายสงบไม่กระสับกระส่าย
แล้ว มีใจตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นอันเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ
และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและ
สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน. . . บรรลุจตุตถฌาน. . . เรานั้น เมื่อจิต
เป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติ
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาน ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติ
หนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อม
ทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่หนึ่ง
นี้แล เราบรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึง

บังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น ก็เพราะเราไม่
ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น. เรานั้น เมื่อจิต
เป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติ
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว เรานั้นจึงโน้มน้อม
จิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเห็นสัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง
อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย
ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน
พระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป
เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต
วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำ
ด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เราย่อมเห็น
หมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี
ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่สองนี้แล
เราบรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิด
ขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงเกิดขึ้น ก็เพราะเราไม่ประมาท มี
ความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น. เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ
บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติ อ่อน ควร
แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสว-
นิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นแล้ว แม้จาก

กามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณ
หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
วิชชาที่สามนี้แล เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว
วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น ก็เพราะ
เราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น.
[254] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีหมู่เนื้อเป็นอันมาก พากันเข้าไป
อาศัยบึงใหญ่ในป่าดงอยู่ ยังมีบุรุษคนหนึ่งปรารถนาความพินาศ ประสงค์ความ
ไม่เกื้อกูล ใคร่ความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นแก่หมู่เนื้อนั้น เขาปิดทางที่ปลอดภัย
สะดวก ไปได้ตามชอบใจของหมู่เนื้อนั้นเสีย เปิดทางที่ไม่สะดวกไว้ วางเนื้อ
ต่อตัวผู้ไว้ วางนางเนื้อต่อไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยสมัย
ต่อมา หมู่เนื้อเป็นอันมากก็พากันมาตายเสีย จนเบาบาง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
แต่ยังมีบุรุษอีกคนหนึ่งปรารถนาประโยชน์ ใคร่ความเกื้อกูล ใคร่ความปลอดภัย
แก่หมู่เนื้อเป็นอันมากนั้น เขาเปิดทางที่ปลอดภัย สะดวก ไปได้ตามชอบใจ
ให้แก่หมู่เนื้อนั้น ปิดทางที่ไม่สะดวกเสีย กำจัดเนื้อต่อ เลิกนางเนื้อต่อ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยสมัยต่อมา หมู่เนื้อเป็นอันมาก จึงถึงความ
เจริญคับคั่ง ล้นหลาม แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ก็ฉันนั้นแล
เราได้ทำขึ้นก็เพื่อจะให้พวกเธอรู้ความหมายของเนื้อความ ก็ในอุปมานั้น มี
ความหมายดังต่อไปนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า บึงใหญ่ นี้เป็นชื่อของ
กามคุณทั้งหลาย. คำว่า หมู่เนื้อเป็นอันมาก นี้เป็นชื่อของหมู่สัตว์ทั้งหลาย.
คำว่า บุรุษผู้ปรารถนาความพินาศ ประสงค์ความไม่เกื้อกูล จำนงความไม่
ปลอดภัย นี้เป็นชื่อของตัวมารผู้มีบาป. คำว่า ทางที่ไม่สะดวก นี้เป็นชื่อของ
ทางผิด อันประกอบด้วยองค์ 8 ประการ คือ มิจฉาทิฐิ 1 มิจฉาสังกับปะ 1

มิจฉาวาจา 1 มิจฉากัมมันตะ 1 มิจฉาอาชีวะ 1 มิจฉาวายามะ 1 มิจฉาสติ 1
มิจฉาสมาธิ 1. คำว่า เนื้อต่อตัวผู้ นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ (ความกำหนัด
ด้วยความเพลิน). คำว่า นางเนื้อต่อ นี้เป็นชื่อของอวิชชา. คำว่า บุรุษคน
ที่ปรารถนาประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความปลอดภัย (แก่เนื้อเหล่านั้น)
นี้หมายเอาตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. คำว่า ทางอันปลอดภัยสะดวก
ไปได้ตามชอบใจ นี้เป็นชื่อของทางอันประกอบด้วยองค์ 8 ประการ ซึ่งเป็น
ทางถูกที่แท้จริง คือสัมมาทิฐิ 1 สัมมาสังกัปปะ 1 สัมมาวาจา 1 สัมมา
กัมมันตะ 1 สัมมาอาชีวะ 1 สัมมาวายามะ 1 สัมมาสติ 1 สัมมาสมาธิ 1.
[255] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล เป็นอัน
ว่าทางอันปลอดภัยซึ่งเป็นทางสวัสดี เป็นทางที่พวกเธอควรไปได้ด้วยความ
ปลาบปลื้ม เราได้เผยให้แล้ว ปิดทางที่ไม่สะดวกให้ด้วย เนื้อต่อก็ได้กำจัดให้
แล้วทั้งนางเนื้อต่อก็สังหารให้เสร็จ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กิจอันใดที่ศาสดาผู้
แสวงหาประโยชน์ เกื้อกูลเอ็นดู อาศัยความอนุเคราะห์ แก่เหล่าสาวกจะพึง
ทำ กิจอันนั้น เราทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้
นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มี
ความเดือดร้อนในภายหลัง. นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่เธอทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมิใจ
ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.
จบ เทวธาวิตักกสูตร ที่ 9

อรรถกถาเทวธาวิตักกสูตร


เทวธาวิตักกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับอย่างนี้:-
ในบทเหล่านี้ บทว่า เทฺวธา กตฺวา เทฺวธา กตฺวา ความว่า
ทำให้เป็นสองภาค. วิตกที่ประกอบด้วยกาม ชื่อ กามวิตก. วิตกที่ประกอบ
ด้วยความปองร้าย ชื่อ พยาบาทวิตก. วิตกที่ประกอบด้วยความเบียดเบียน
ชื่อ วิหิงสาวิตก. บทว่า เอกํ ภาคํ ความว่า วิตกนี้แม้ทั้งหมด ทั้งภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด ก็เป็นฝ่ายแห่งอกุศลนั้นเทียว เพราะฉะนั้น
เราจึงทำกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก แม้ทั้งสามให้เป็นส่วนหนึ่ง.
วิตกที่สลัดออกจากกามทั้งหลายแล้ว ประกอบพร้อมด้วยเนกขัมมะ ชื่อ เนก-
ขัมมวิตก. เนกขัมมวิตกนั้น ย่อมควรถึงปฐมฌาน. วิตกที่ประกอบพร้อม
ด้วยความไม่ปองร้าย ชื่อ อัพยาบาทวิตก. อัพยาบาทวิตกนั้น ย่อมควรตั้งแต่
เมตตาบุรพภาคจนถึงปฐมฌาน. วิตกที่ประกอบพร้อมด้วยความไม่เบียดเบียน
ชื่ออวิหิงสาวิตก. อวิหิงสาวิตกนั้น ย่อมควรตั้งแต่กรุณาบุรพภาคจนถึงปฐมฌาน.
บทว่า ทุติยภาคํ ความว่า ท่านแสดงกาลเวลาในการข่มวิตกของพระโพธิสัตว์
ด้วยบทนี้ว่า วิตกนี้แม้ทั้งหมดเป็นฝ่ายกุศลทั้งนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงทำให้
เป็นส่วนที่สอง. ก็เมื่อพระโพธิสัตว์ ทรงเริ่มตั้งความเพียรตลอด 6 ปี วิตก
ทั้งหลาย มีเนกขัมมวิตกเป็นต้น ได้เป็นไปแล้ว เหมือนห้วงแม่น้ำใหญ่เต็ม
ตะลิ่งฉะนั้น ก็วิตกทั้งหลายมีกามวิตกเป็นต้นเกิดขึ้นรวดเร็ว เพราะความ
หลงลืมสติ ตัดรอนวาระแห่งกุศล กลายเป็นวาระแล่นไปแห่งอกุศลเองตั้งอยู่
แต่นั้น พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า ก็วิตกทั้งหลายมีกามวิตกเป็นต้นนี้ของเราได้
ตัดรอนวาระแห่งกุศลตั้งอยู่ เอาละ เราจักทำวิตกเหล่านี้ให้เป็นสองส่วนอยู่